Post Modern คือแนวความคิดที่มาหลังจากยุค modern
ซึ่งเป็นช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ที่อะไรต่างๆถูกกำหนดอยู่ในหลักเกณฑ์และทฤษฏี แต่ยุค postmodern เป็นยุคที่ปฏิเสธสิ่งเดิมๆในยุคmodern โดยเน้นเสรีภาพและอิสระของบุคคล
ไม่เชื่อในโลกของความจริง ไม่เชื่อเรื่องความเป็นสากล
เพราะเชื่อว่าแต่ละคนแต่ละวัฒนธรรมนั้นมีเหตุผลของตัวเอง
ไม่ควรจะให้ใครมาตัดสินว่าอันไหนสิ่งใดดีที่สุด
แล้วคิดว่าสิ่งนั้นต้องดีสำหรับคนอื่นด้วย
ดังนั้นจึงไม่คิดว่าสังคมที่คิดว่าเป็นสากลนั้นไม่มีจริง
ตัวอย่างอาคารที่สร้างด้วยแนวคิดปรัชญาโพสท์โมเดิร์น
Post Modern เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในปลายยุคทศวรรษที่ 80 นำโดยกลุ่มนักออกแบบที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น Michael Graves, Philippe Starck เป็นต้น คำว่า PostModern มาจากคำว่า Post ซึ่ง แปลว่าหลังและ Modern ก็หมายถึงยุค Modernนั่นเอง ความหมายรวมของPostModern หมายถึง รูปแบบงานออกแบบในยุคหลังจากModern นั่นเอง
หลักการโดยทั่วไปของ Post Modern คือการสร้างรูปแบบงานออกแบบใหม่ที่ไม่ใช่ทั้ง Modern และ รูปแบบ Classic แต่กลับเป็นการสร้างลูกผสมระหว่างทั้งสองรูปแบบขึ้นมาดังจะ เห็นได้จากผลงานส่วนใหญ่ของรูปแบบนี้จะมีการสร้างชิ้นงานแบบ Modern ที่เรียบง่าย และมีรูปทรงที่โดดเด่น เตะตา แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีการอ้างอิงถึงรายละเอียด หรือกลิ่นอายของงาน Classic ไปด้วยในตัว
ในบางครั้งงาน Post Modern ก็จะไปเน้นที่การเล่นเรื่อง Space กล่าวคือ Space ของงาน Classic มักจะเน้นที่ ความหรูหรา ใหญ่โตและอลังการ ในขณะที่รูปแบบ Modern จะเน้นที่ความเรียบง่าย และการสร้างความรู้สึกที่สัมผัสได้ ในทันทีที่เข้าไปพบ หรือสัมผัสแต่รูปแบบ Post Modern มักจะเน้นที่ การสร้างความรู้สึกคล้ายใช่ และ คล้ายไม่ใช่ โดยมักจะสร้าง Space ที่ให้ความรู้สึกที่เปลี่ยนไป ในแต่ละ ก้าวย่าง ที่เข้าไปสัมผัส
รูปแบบ Post Modern ก็มักจะมีการใช้สีสรรที่สดใส หรือวัสดุที่แปลกใหม่ ตลอดจนรูปทรงที่แปลกตา เข้ามาใช้ในงานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอาคาร สถาปัตยกรรม ทำให้เรามักจะได้เห็น อาคารรูปทรงแปลกประหลาด หรือมีสีสรร สดใสตัดกับอาคารสี่เหลี่ยมทึบตันรอบข้าง โผล่มาอย่าง น่าประทับใจ
ความแปลกใหม่และลูกเล่นที่สร้างสรรค์ต่างๆ เหล่านี้ ได้สร้างให้งาน Post Modern ขึ้นสู่จุดสูงสุดอย่างรวดเร็วและด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ทันสมัย ยิ่งทำให้งานออกแบบนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก Post Modern กลายเป็นรูปแบบใหม่ ที่นักออกแบบทั่วโลกให้ความสนใจ และยินดีที่จะสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนี้ ภายหลังจากที่ ต้องเก็บกดอยู่นานกับความเรียบง่าย วัสดุที่จำกัด และรูปทรงเรขาคณิต ของงาน Modern
แก่นสารอีกแล้ว ไม่มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวอีกแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความแน่นอน.นอกจากนี้ในยุคโมเดิร์น ยังเน้นในเรื่องของฝรั่งผิวขาว หรือคนตะวันตก เป็นผู้นำของโลก หรือเป็นเอตทัคคะในทุกๆศาสตร์ เป็นคนที่ประกาศวาทกรรมที่จริงแท้ที่สุดอันปฏิเสธไม่ได้ พวกโพสท์โมเดิร์นปฏิเสธเรื่องนี้เช่นเดียวกัน พวกเขาบอกว่า ethnic group หรือชนกลุ่มน้อยที่เป็นรองในสังคม, พวก minority หรือใครก็แล้วแต่ที่เคยด้อยกว่าในยุคโมเดิร์น สามารถที่จะประกาศวาทกรรมของตนได้เช่นเดียวกัน สามารถที่จะสร้าง discourse ของตนเองได้เช่นเดียวกันเหมือนกับคนผิวขาวหรือคนตะวันตก. จะเห็นได้ว่าในยุคโพสท์โมเดิร์น เป็นการตีกลับยุคโมเดิร์น อย่างค่อนข้างชัดเจน ประการต่อมา ในยุคโมเดิร์นนั้น เป็นยุคซึ่งได้สืบทอดความคิดเรื่องผู้ชายเป็นใหญ่กว่าผู้หญิงมาตามลำดับ แต่ในยุคโพสท์โมเดิร์น ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ บอกว่าผู้หญิงก็มีสิทธิของพวกเธอเท่าเทียมกับผู้ชาย ผู้หญิงก็มีวาทกรรมของตนเอง ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ผู้ชายเป็นฝ่ายกำหนด โดยเฉพาะโครงสร้างทางสังคม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ. ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆที่ออกมา ผู้หญิงเป็นเบี้ยล่างมาโดยตลอด เช่น การใช้นามสกุลของผู้ชายหลังแต่งงานก็ดี กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องชู้สาวก็ดี รวมไปถึงเรื่องของการจัดการด้านทรัพย์สิน และกระทั่งความไม่เท่าเทียมในเรื่องของการประกอบอาชีพและค่าแรง จะเห็นถึงความไม่เสมอภาคกันเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ในยุคโมเดิร์น ยังให้ความสำคัญในเรื่องของความเจริญ และการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ยุคโพสท์โมเดิร์นบอกว่าไม่จำเป็น เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ทำลายธรรมชาติ ทั้งความเป็นมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ฉะนั้น การรณรงค์ต่างๆซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสมัยใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนิเวศวิทยา เรื่องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เรื่องของสิทธิสตรี เรื่องอะไรต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด เป็นความคิดที่ against ต่อยุคโมเดิร์น
สังคมไทยยุคโพสต์โมเดิร์น
“ศิลปะและปรัชญาในยุคโพสท์โมเดิร์น”
วัฒนธรรมของโพสท์โมเดิร์น เห็นว่า
การพัฒนาสามารถที่จะทำลายวัฒนธรรม(Conceptual)ได้ ไม่มี
มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551
ในช่วงก่อนปีใหม่ผมได้รับหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มหนึ่งจาก ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน อาจารย์จุฬาฯ ซึ่งเป็นนักประชากรศาสตร์ชั้นนำของเมืองไทย ชื่อ "โครงสร้างประชากรของไทยยุคโพสต์โมเดิร์น การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินกว่าจะถูกมองข้าม" ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะจำได้ว่า เมื่อปีที่แล้วผมเองก็ได้รับหนังสือเล่มเล็กๆ จากอาจารย์เกื้อชื่อ "สังคม ส.ว.หรือสังคมสูงวัย" ซึ่งก็ได้เคยนำเสนอผ่านทางบทความนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง และเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ดังนั้น คราวนี้เราลองมาดูกันนะครับว่า โครงสร้างประชากรไทยยุคโพสต์โมเดิร์นเป็นอย่างไร
ในหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เกื้อได้เริ่มต้นจากการชี้ประเด็นให้เห็นถึงโครงสร้างของประชากรไทยที่กำลังเปลี่ยนไป โดยอัตราการเจริญพันธุ์รวมลดลงจาก 6.3 คนในช่วงปี 2507-2508 เป็น 1.61 คนในช่วงปี 2548-2553 ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่า สตรีวัยเจริญพันธุ์จะสามารถให้กำเนิดบุตรเพื่อทดแทนตนเองและคู่สมรสได้กี่คน (ตัวเลข 1.61 คนแสดงว่าพ่อแม่หนึ่งคู่ ไม่สามารถสร้างทายาทเพื่อทดแทนตนเองได้) ผลจากการลดลงของประชากรนั้น ทำให้ประชากรวัยแรงงานลดลง และส่งผลให้เกิดปัญหาอัตราส่วนเกื้อหนุนประชากรสูงอายุ (อัตราส่วนที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุหนึ่งคน จะมีประชากรวัยแรงงานช่วยเหลือดูแลกี่คน) โดยในปี 2543 มีประชากรวัยแรงงาน 7 คนดูแลผู้สูงอายุ 1 คน และจะลดลงเหลือเพียง 4 คนในปี 2563 และเพียง 2 คนในปี 2593
ผลจากการลดลงของประชากรนี้ ทำให้โครงสร้างของครอบครัวไทยเป็นอัตราส่วน 1:2:4 (หลานหนึ่งคน ดูแลพ่อแม่สองคน และปู่ย่าตายาย 4 คน) ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กของไทยในอนาคต ที่ต่อไปจะมีแนวโน้มเป็นลูกคนเดียวของครอบครัวมากขึ้น ประกอบกับพัฒนาการของสังคม และเทคโนโลยี ทำให้เด็กที่เป็นลูกคนเดียวในปัจจุบันมีปัญหาของการขาดพี่น้องในวัยต่างๆ ทำให้ขาดการฝึกการอยู่ร่วมกัน การแบ่งปัน การทำงานร่วมกัน ซึ่งสุดท้ายย่อมส่งผลต่อคุณลักษณะของประชากรในยุคนี้ ที่จะเปลี่ยนไปและเข้าสู่ยุคโพสต์โมเดิร์น
ถ้าท่านผู้อ่านนึกไม่ออกว่าประชากรไทยยุคโพสต์โมเดิร์นนั้นมีลักษณะอย่างไรนั้น อ.เกื้อได้ให้ทัศนะไว้ว่า คนในยุคนี้จะมีความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติในด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่ ผมเองก็ได้ยินบ่อยครับ ที่บรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายจะปรารภว่า วิธีคิด วิธีทำงานของคนในยุคนี้จะมีความแตกต่างจากรุ่นตัวเอง ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่เราอาจจะไม่ได้นึกถึงก็คือความแตกต่างนั้นเกิดขึ้นจากโครงสร้างของประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นผลกระทบสำคัญต่อโครงสร้างของครอบครัว ซึ่งส่งผลต่อวิธีคิดตลอดจนทัศนคติของคนในสังคม
อ.เกื้อได้ให้ข้อคิดเห็นว่า คุณลักษณะที่สำคัญของคนในยุคโพสต์โมเดิร์นนั้น ได้แก่ (ท่านผู้อ่านลองสำรวจตนเองดูนะครับ แล้วจะทราบว่าเราเป็นคนยุคไหน) จะเน้นความไม่มีกฎเกณฑ์ เน้นความหลากหลายมากกว่าความเป็นเอกภาพ เน้นการสังเคราะห์เพื่อให้เกิดความต่างมากกว่าความเหมือน เน้นการมองหลายมิติมากกว่ามิติเดียว
ท่านผู้อ่านอาจจะงงนะครับว่า คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้หมายถึงอะไร แต่ถ้ามาสังเกตพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน เราจะพบคุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้กันมากขึ้น เช่น จะสังเกตว่าคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยชอบอยู่ในกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับคนรุ่นก่อน ในขณะเดียวกัน คนรุ่นใหม่จะชอบความแตกต่างในหลายๆ ด้าน ทั้งการใช้สินค้าที่ต้องแตกต่างจากผู้อื่น การมีชื่อเรียกที่แตกต่างจากผู้อื่น (ลองสังเกตบรรดาชื่อเล่นที่ตั้งขึ้นเองของคนรุ่นใหม่ดูก็ได้ครับ)
ส่วนการมองหลายมิตินั้น เช่น ในอดีตเราจะมองว่าการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องของมารดาเพียงฝ่ายเดียว แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นหน้าที่ของทั้งบิดา มารดา หรือแม้กระทั่งการที่ผู้หญิงอายุมากกว่า แต่งงานกับผู้ชายที่อายุน้อยกว่า ซึ่งในอดีตเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยพบในสังคม ในปัจจุบันก็ดูเหมือนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ เราต้องทำความเข้าใจกับคนในยุคโพสต์โมเดิร์นให้ดีๆ ครับ นักธุรกิจก็ต้องออกสินค้า บริการ ทำการตลาดเพื่อจับลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ ในขณะเดียวกัน ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ก็ต้องเข้าใจคนในยุคโพสต์โมเดิร์น เพื่อเข้าใจในความแตกต่างของคนรุ่นใหม่ ที่แตกต่างจากรุ่นตัวเอง รวมทั้งการปรับวิธีการเลี้ยงคนรุ่นใหม่ที่มีทัศนคติ และวิธีคิดที่ไม่เหมือนตัวเอง
นักการตลาดเองเขาก็มองว่าคนรุ่นใหม่จะเป็นพวกผู้บริโภคระยะสั้น ที่เน้นของฉาบฉวย หรือมีความเห่อเป็นพักๆ ในต่างประเทศเองเขาก็เรียกคนกลุ่มนี้ว่า เป็นพวก Snack Culture ที่ไม่เน้นอาหารหนัก แต่เน้นอาหารว่างเล็กๆ น้อยๆ แต่ทานบ่อย นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังมีลักษณะประจำตัวที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ชอบของจริง แต่ชอบของเสมือนจริง (Virtual) ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า คนรุ่นใหม่จะมีโลกส่วนตัวที่เป็นโลกเสมือนจริงอยู่มากโดยเฉพาะตามเน็ต ซึ่งนักการตลาดหรือผู้บริโภคก็จะต้องรู้จักที่จะปรับตัวให้เข้ากับทัศนคติที่เปลี่ยนไปของคนกลุ่มนี้
เนื้อหาข้างต้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของหนังสือประชากรยุคโพสต์โมเดิร์นของ อ.เกื้อนะครับ ถ้าท่านผู้อ่านสนใจอ่านเพิ่มเติม ลองไปหาดูที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ นะครับ และรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายของหนังสือเล่มนี้ก็ยกให้การกุศลครับ
“โพสต์ โมเดิร์น” “หลังสมัยใหม่” ในภาษาอังกฤษคือ post-modern หรือบ้างก็เขียนว่า postmodern หรือ ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism, โพสต์โมเดิร์นนิสม์)
เป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ “อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน” (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)
นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึง”สำนึก” ที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย (ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็ว
ลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ “สมัยใหม่” กับ “หลังสมัยใหม่” ชัดเจนขึ้น
“หลังสมัยใหม่” เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน “ความเป็นสมัยใหม่” หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน “ความเจริญ” หรือ “ความก้าวหน้า” แบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ (หรือตอนนั้นยังไม่รู้) ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความคิดเกี่ยวกับลัทธิ “สมัยใหม่” ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ “หลังสมัยใหม่” มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ “ศิลปะกระแสหลัก” ที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดู
การมองโลกในแง่ดีและความคิดในเชิงอุดมคติแบบลัทธิสมัยใหม่ต้องหลีกทางให้แก่ความรู้สึกที่ความหยาบกร้านและข้นดำของลัทธิ หลังสมัยใหม่
ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ “คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์” (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ “หลังสมัยใหม่” เอาไว้ว่า “คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น “ลูกผสม” แทนที่จะ “บริสุทธิ์”, “ประนีประนอม” แทนที่จะ “สะอาดหมดจด”, “คลุมเครือ” แทนที่จะ “จะแจ้ง”, “วิปริต” พอๆกับที่ “น่าสนใจ”
ด้วยกระแส ลัทธิหลังสมัยใหม่ ทำให้ศิลปะในแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่ (ที่ทำงานแนวนามธรรม) ปฏิเสธไม่ยอมทำ เช่น การกลับไปเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพวก หลังสมัยใหม่ ยังท้าทายการบูชาความเป็นต้นฉบับ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครของพวกสมัยใหม่ ด้วยการใช้วิธีการที่เรียกว่า “หยิบยืมมาใช้” (Appropriation, แอ็บโพรพริเอชัน) มาฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง เสียดสีบ้าง
ศิลปยุคโพสต์โมเดิร์น
ในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ “หลังสมัยใหม่” ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)
ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในกระแสศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ ในตะวันตกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ นิทรรศการศิลปกรรมย้อนหลัง สำหรับศิลปินที่ดังตั้งแต่อายุ 30 กว่าๆ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อศิลปินในการที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในหลายกรณีได้ทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างการ “ประสบความสำเร็จในอาชีพศิลปิน” กับ “อุดมการณ์ทางศิลปะ” ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับศิลปินในลัทธิสมัยใหม่เลย
ยุคโพส์ตโมเดิร์น อาจจะเป็นยุคที่มีความเสมอภาคกันมากขึ้น
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ เป็นประโยชน์มากจริงๆ
ตอบลบน่าสนใจค่ะ
ตอบลบขอบคุณข้อมูลดีๆคะ
ตอบลบขอบคุณมากๆครับ
ตอบลบHarrah's Hotel and Casino, New Orleans, LA - Mapyro
ตอบลบHARRAH'S HOTEL and CASINO, NEW LA. - This 5-star hotel is 1.2 아산 출장안마 mi 대전광역 출장안마 (2.7 km) from Harrah's. This 5-star hotel is 1.2 mi 파주 출장마사지 (2.7 파주 출장샵 km) from Harrah's. This 5-star hotel is 1.2 부산광역 출장안마 mi (2.7 km) Rating: 3.2 · 9 reviews